วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

การกำหนดราคาขั้นสูง


การกำหนดราคาขั้นสูง ( Price Ceiling )
             
     ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่การแทรกแซงราคาของรัฐบาลโดยมากจะเป็นการประกันราคาขั้นต่ำ แต่ในบางครั้งรัฐบาลก็จำเป็นที่จะต้องเข้าแทรกแซงราคาไม่ให้ราคาอยู่สูงเกินไป โดยการกำหนดราคาขั้นสูง ซึ่งมักนำมาใช้ในเวลาที่สินค้าและบริการเกิดการขาดแคลนอย่างมาก ทำให้ราคาสินค้าและบริการต่างๆนั้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนอาจกลายเป็นเงินเฟ้อขั้นรุนแรงได้ ซึ่งเหตุการณ์อย่างนี้จะปรากฏเสมอเช่นในช่วงสงคราม เป็นต้น


การกำหนดราคาขั้นสูง
รูปที่ 3. การกำหนดราคาขั้นสูง
             
      จากรูปที่ 3. สมมติให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีในตลาด ทำให้เกิดราคาและปริมาณดุลยภาพของ น้ำมันเบนซิน เท่ากับ OPe และ OQe ตามลำดับ และสมมติต่อไปว่า เมื่อรัฐบาลเข้ามาควบคุมราคาน้ำมันเบนซินแล้วนั้น ถ้าราคาขั้นสูงที่รัฐบาลกำหนดอยู่สูงกว่าราคาดุลยภาพ OPe ถ้าผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันได้ก็จะยังคงทำการซื้อขายกัน ณ ระดับราคา OPe ต่อไป แต่ถ้าราคาขั้นสูงที่รัฐบาลตั้งไว้อยู่ที่ต่ำกว่า OPe สมมติว่าอยู่ที่ OPf จะเกิดการขาดแคลนน้ำมันเป็นจำนวน Q1Q2 เพราะว่าที่ราคา OPf มีปริมาณซื้อเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 ในขณะที่ผู้ขายต้องการขายเพียงจำนวน OQ1 ทำให้ราคา Pf จึงดำรงอยู่ไว้ไม่ได้ จึงต้องสูงขึ้น แต่เนื่องจากไม่สามารถยกระดับราคาให้สูงขึ้นไปอยู่ในระดับราคาดุลยภาพตามเดิมได้เพราะผิดกฏหมาย จึงอาจทำให้มี ตลาดมืด (Black Market) เกิดขึ้นได้ ซึ่งถ้ามีตลาดมืดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ราคาขั้นสูงที่รัฐบาลกำหนดไว้ก็จะปราศจากผล เพราะไม่มีสินค้าให้ขายในระดับราคานั้น เนื่องจากนำไปขายในตลาดมืดได้ราคาดีกว่า ดังนั้น เพื่อให้ระดับราคาเป็นไปตามระดับราคาขั้นสูงที่รัฐบาลกำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องลดอุปสงค์ลงมาให้เท่ากับจำนวนอุปทาน ณ ระดับราคาที่กำหนดไว้ รัฐบาลจึงต้องใช้วิธีการปันส่วนโดยจ่าย คูปอง (Coupons) สำหรับแต่ละรายเพื่อที่จะซื้อสินค้าอันมีอยู่จำกัดนั้น ซึ่งแต่ละคนจะซื้อเกินส่วนของตนตามสิทธิ์ไม่ได้ แม้จะมีเงินมากมายซื้อก็ตาม

ขอขอบคุณขอมูลจากเศรษฐศาสตร์น่ารู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น