วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานต่อราคา



ความยืดหยุ่นของอุปสงค์

           ความยืดหยุ่นเป็นค่าที่ชี้ให้เห็นว่าปริมาณเสนอซื้อหรือปริมาณเสนอขายมีความเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงมากเรียกว่ามีความยืดหยุ่นมาก ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงน้อยเรียกว่ามีความยืดหยุ่นน้อย ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่าไม่มีความยืดหยุ่นเลย

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา

           ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ หมายถึง เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อตัวแปรอื่นๆที่เป็นตัวกำหนดปริมาณเสนอซื้อนั้นเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซนต์ ซึ่งเราจะศึกษากัน 3 ตัวคือ
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น


    ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา

     ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand) หมายถึงเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าที่มีผู้เสนอซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อราคาสินค้าชนิดนั้นเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซนต์ โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่
Ed = เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อ / เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
Ed = (100ΔQ/Q) / (100ΔP/P)
Ed = (ΔQ/ΔP)(P/Q)


การคำนวณความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาแบบจุด

    เป็นการคำนวณหาความยืดหยุ่น ณจุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ มีสูตรคือ
Ed = (ΔQ/ΔP)(P/Q)
Ed = (Q2-Q1/P2-P1)(P1/Q1)


การคำนวณความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาแบบช่วง

         เป็นการคำนวณหาความยืดหยุ่น ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ มีสูตรคือ
Ed = ((Q2-Q1)/(Q2+Q1))((P2+P1)(P2-P1))

  • ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาที่คำนวณได้ จะมีค่าเป็นลบเสมอ เนื่องจากฏ Law of Demand ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงสวนทางกับอุปสงค์ตลอดเวลา
  • การนำมาใช้จะใช้เป็นเลขบวก (Absolute)
  • หากมีค่ามากกว่า 1 แสดงว่า มีความยืดหยุ่นมาก มักจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย
  • หากมีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่า มีความยืดหยุ่นน้อย มักจะเป็นสินค้าจำเป็น
  • หากมีค่าเท่ากับ 1 แสดงว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาจะไม่มีผลต่อรายรับรวม ลักษณะกราฟจะเป็นเส้นโค้ง Rectanguar Hyperbola
  • หากมีค่าเท่ากับ 0 แสดงว่า ไม่มีความยืดหยุ่นเลย ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าตลอดไม่ว่าราคาจะเป็นอย่างไร จึงเป็นสินค้าจำเป็นอย่างยิ่ง
  • หากมีค่าเป็น ∞ แสดงว่า มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าที่ราคานั้นๆ อย่างไม่จำกัดจำนวน แต่จะไม่ซื้อเลยหากราคาขยับขึ้นเพียงนิดเดียว มักจะเป็นสินค้าที่มีผู้ขายเป็นจำนวนมาก


ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาและรายรับรวม

     รายรับรวม (ตัวย่อ : TR) สามารถคำนวณได้จากราคาสินค้าคูณกับปริมาณขายทั้งหมด
  • กรณี Ed = 1 ราคาที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจะไม่มีผลต่อ TR
  • กรณี Ed > 1 ราคาที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จะทำให้ยอดขายลดลงมาก ทำให้ TR ลดลง ส่วนการลดราคาเพียงเล็กน้อย จะให้ผลตรงกันข้าม
  • กรณี Ed < 1 ราคาที่เพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ยอดขายลดลงไม่มากนัก ทำให้ได้ TR เพิ่มขึ้น ส่วนการลดราคาจะทำให้ TR ลดลง


ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้

     เป็นค่าความยืดหยุ่นที่พิจารณาความสัมพันธ์ของรายได้กับความต้องการซื้อ มีสูตรดังนี้
Ed = ((Q2-Q1)/(Q2+Q1))((Y2+Y1)(Y2-Y1))
  • ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ สามารถเป็นได้ทั้งค่า + และ - ขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า ถ้าเป็นสินค้าปกติ จะมีค่าเป็นบวก ส่วนสินค้าด้อยคุณภาพ จะมีค่าเป็นลบ


ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น

Ed = ((Q2-Q1)/(Q2+Q1))((PY2+PY1)(PY2-PY1))
  • เรียกอีกอย่างว่า ความยืดหยุ่นไขว้
  • ถ้ามีค่าเป็นบวก แสดงว่าเป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน
  • ถ้ามีค่าเป็นลบ แสดงว่าเป็นสินค้าที่ทดแทนกันได้


ปัจจัยกำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา

  • สินค้าที่ทดแทนกันได้
  • มูลค่าสินค้าคิดเป็นสัดส่วนของรายได้
  • สินค้าฟุ่นมเฟือยและสินค้าจำเป็น
  • ปริมาณอุปสงค์จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นถ้าผู้บริโภคมีเวลาพิจารณามากขึ้น


ความยืดหยุ่นของอุปทาน

         ความยืดหยุ่นของอุปทาน หมายถึงค่าที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและราคา กล่าวคือ หากราคาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซ็นต์ ความต้องการขายจะเปลี่ยนแปลงกี่เปอร์เซนต์
Es = ปริมาณการเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายสินค้า/เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า


การคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน

สามารถคำนวณได้ 2 ลักษณะคือ
  • ความยืดหยุ่นแบบจุด
  • ความยืดหยุ่นแบบช่วง


ปัจจัยกำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา

     ปัจจัยที่สมีอิทธิพลต่อความยืดหยุ่นของอุปทานคือระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้า หากผู้ผลิตมีเวลามากก็จะมีความยืดหยุ่นมาก
  • ช่วงเวลาสั้นมากจนผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณการเสนอขายได้ กราฟอุปทานจะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนปริมาณ
  • ช่วงเวลาระยะสั้น กราฟอุปทานจะมีความชั้นมาก
  • ช่วงเวลาระยะยาว กราฟอุปทานจะมีความชั้นน้อย


ประโยชน์จากการศึกษาเรื่องความยืดหยุ่น

  • ทำให้ทราบถึงปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์/อุปทาน
  • ทำให้ธุรกิจสามาถทราบถึงรายรับรวมอันเนื่องจากราคาและปริมาณความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
  • ทำให้ทราบถึงความจำเป็นของสินค้าต่างๆที่มีต่อผุ้บริโภค
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆได้ เช่น ความยืดหยุ่นของอุปทานเงินฝากต่ออัตราดอกเบี้ย                                                                   

 ขอบคุณข้อมูลจาก wiki

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น