วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

การประกันราคาขั้นตํ่า

 


 การประกันราคาขั้นต่ำ (PriceSupport )


             
       การประกันราคาขั้นต่ำนิยมใช้กันมากสำหรับสินค้าที่เป็นผลิตผลทางเกษตรกรรม ซึ่งอุปสงค์มักมีความยืดหยุ่นน้อย ในขณะที่อุปทานควบคุมได้ยากเพราะส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ เช่นถ้าปีใดดินฟ้าอากาศดีก็จะผลิตได้มาก ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากเกินไปทำให้ราคาผลผลิตจะตกต่ำลงอย่างมาก กระทบต่อรายได้ของชาวไร่ชาวนาซึ่งส่วนใหญ่ยากจน ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเข้าช่วยเหลือโดยใช้วิธีการประกันราคาขั้นต่ำ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ
             
1. การประกันราคาขั้นต่ำโดยรัฐบาลรับซื้ออุปทานส่วนเกิน
             
          การประกันราคาขั้นต่ำ หมายถึงการที่รัฐบาลประกาศราคาประกัน และใช้กฏหมายบังคับให้ผู้ซื้อทุกรายซื้อสินค้านั้นในราคาประกัน มิฉะนั้นจะมีความผิดตามกฏหมาย และถ้าหากเกษตรกรไม่สามารถขายผลิตผลแก่พ่อค้าในราคาประกันได้ รัฐบาลก็จะรับซื้อโดยไม่จำกัดจำนวน
ในการแทรกแซงราคานี้รัฐบาลจะต้องมีเงินงบประมาณอย่างเพียงพอและพร้อมที่จะซื้อผลิตผลที่เป็นอุปทานส่วนเกินได้ทันที พร้อมกับจัดเตรียมยุ้งฉางและไซโลกระจายตามจุดสำคัญต่างๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าอุปทานส่วนเกินมีมาก และเกษตรกรยังคงดำเนินการผลิตในปริมาณเดิมต่อไปเรื่อยๆ รัฐบาลจะต้องรับภาระหนักในการรับซื้อผลผลิตเหล่านั้น และส่วนมากเกษตรกรมักขาดอำนาจต่อรองทางการเมืองในการบีบให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณจำนวนมากมาใช้เพื่อการแทรกแซงราคา ดังนั้น ในบางครั้งรัฐบาลอาจต้องหาทางลดการผลิตของเกษตรกรให้น้อยลง โดยการชักชวน หรือส่งเสริมให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้รายได้สูงกว่า
             สำหรับในประเทศไทยนั้น แม้รัฐบาลจะใช้คำว่าประกันราคาในกรณีของข้าวเปลือก แต่เนื่องจากรัฐบาลมีเงินทุนที่จะรับซื้อข้าวได้เพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์ของข้าวที่เกษตรกรอยากขายให้กับรัฐบาล ดังนั้นจึงควรจะเรียกว่า " การพยุงราคา " ซึ่งหมายถึงการที่รัฐบาลดำเนินการซื้อผลผลิตได้เฉพาะในบางท้องที่เท่านั้น เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด เพื่อกระตุ้นให้ราคาตลาดสูงขึ้น
            
      2. การประกันราคาขั้นต่ำโดยรัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่เกษตรกร
             การประกันราคาขั้นต่ำโดยรัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่เกษตรกร เป็นอีกวิธีหนึ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ เคยยึดถือปฏิบัติ ซึ่งก็คือ การจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ผลิตสินค้าบางชนิด กล่าวคือ รัฐบาลจะกำหนดราคาประกันขั้นต่ำไว้ แต่ปล่อยให้มีการซื้อขายตามกลไกราคาในตลาดซึ่งเท่ากับ OPe และรัฐบาลจ่ายเงินชดเชยเท่ากับส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาตลาดให้แก่เกษตรกร ซึ่งเท่ากับ Pf Peดังแสดงในรูปที่ 2.
รูปที่ 2 ก.
รูปที่ 2 ข.
             อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์เกี่ยวกับการประกันราคาขั้นต่ำโดยวิธีจ่ายเงินอุดหนุนโดยใช้รูปนั้น ในกรณีทั่วไปเราอนุโลมใช้เส้นอุปทานที่มีลักษณะทอดลงจากขวามาซ้าย ดังรูปที่ 2 ก. และพบว่างบประมาณที่รัฐบาลใช้ในการอุดหนุนเท่ากับ Pf AEPeซึ่งถ้าคำนึงถึงความเป็นจริงในทางปฏิบัติจะพบว่า รัฐบาลต้องพยายามดำเนินการให้ได้ผลดีที่สุดโดยใช้งบประมาณน้อยที่สุด กลวิธีจึงมีว่าจะต้องคำนึงถึงช่วงเวลาอันเหมาะสมในการประกาศราคาขั้นต่ำด้วย กล่าวคือ ควรจะประะกาศราคาในช่วงที่เกษตรกรไม่สามารถเพาะปลูกเพิ่มได้อีกแล้ว เพื่อว่าราคาตลาดจะได้อยู่สูงและภาระการจ่ายเงินอุดหนุนก็จะน้อยไปด้วย ซึ่งถ้ามองจากแง่ของรัฐบาลแล้วช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประกาศราคาประกันขั้นต่ำก็คือเวลาที่การเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นลงแล้ว และด้วยเงื่อนไขด้านเวลานี่เองที่ทำให้เส้นอุปทานมีลักษณะตั้งฉากกับแกนนอน งบประมาณที่รัฐบาลใช้ในการอุดหนุนเท่ากับ Pf AEPe ดังแสดงในรูปที่ 2 ข.

ขอขอบคุณขอมูลจากเศรษฐศาสตร์น่ารู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น